เหยื่อวัยเยาว์จากเหตุปะทะ

1989 Tiananmen Square Protests

อภิสิทธิ์ตอแหลจะๆ ชัดเจน ไร้ยางอาย

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กำเนิดงิ้วการเมือง ธรรมศาสตร์

กำเนิดงิ้วการเมือง ธรรมศาสตร์ 
24 เมษายน 2010 เวลา 23:37 น.
"งิ้วธรรมศาสตร์" หรือ "งิ้วการเมือง" นั้นเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2500 โดยพลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานและสนใจของประชาชนอย่างมาก เนื่องจากเนื้อหาที่นำมาแสดง เป็นเรื่องราวสะท้อนถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในยุคนั้นๆ ต่อมาในปี 2501 ในขณะที่การเมืองไทยเข้าสู่ระบบเผด็จการเต็มขั้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสื่อมวลชนโดยทั่วไปเท่านั้น นักศึกษาก็ถูกจำกัดความคิดเห็นและการแสดงออก ในแง่การพูดหรือการเขียน ส่งผลให้นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้ง *ชุมนุมศิลปะและการแสดง* ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางการเมือง ถ่ายเทความเคร่งเครียดจากเหตุการณ์บ้านเมือง โดยมี *ปนัดดา พุกกะมาน* *สัญชยากร เศียนเสวี* และ *พีระพงศ์ อิศรภักดี* เป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้ง เมื่อเกิดชุมนุมขึ้น ทำให้นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ที่ต่อมามีชื่อเสียงโด่งดังเข้าร่วมจำนวนมาก อาทิ นายชวน หลีกภัย, นายพีระพงศ์ อิศรภักดี, นายวิทยา สุขดำรงค์, นายสุบิน สินไชย และนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ทั้งหลายได้รวมตัวกันจัดกิจกรรมในหลายรูปแบบ รวมทั้งการจัดแสดงงิ้วนิติศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ก่อนจะได้รับความนิยมกลายมาเป็น "งิ้วธรรมศาสตร์" โดยมีนักศึกษาคณะอื่นๆ ร่วมแสดงมากขึ้นในภายหลัง ในอดีต "งิ้วการเมือง" ที่นำโดย นายพีระพงศ์ อิศรภักดี, นายชวน หลีกภัย และนายวิทยา สุขดำรงค์ จะใช้เรื่อง "สามก๊ก" ในพงศาวดารจีนแสดงนำ ที่ใช้เรื่องสามก๊กก็เพราะเป็นเรื่องที่มากด้วยแม่ทัพนายกอง มีการรบราฆ่าฟัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นนายทหารทั้งสิ้น จึงเห็นว่าน่าจะตรงกับเหตุการณ์บ้านเมือง เช่น ครั้งหนึ่งมีงิ้วการเมืองล้อเลียนจอมพลสฤษดิ์ ใช้ชื่อตัวละคร "ตั๋งโต๊ะ" เป็นคนแก่ชอบมีเมียสาวทำนองนั้น สำหรับงิ้วการเมืองที่แสดงกันเรื่องแรก คือ "เตียวเสี้ยนก็มีหัวใจ" ปรากฏเป็นที่ฮือฮากันมาก ผู้แสดงเองก็ต้องอดทนฝึกซ้อมกันอย่างไม่ย่อท้อ เพราะแต่ละคนไม่ได้มีพื้นเพเรื่องงิ้วกันมาก่อน ต้องตระเวนไปตามโรงงิ้ว ทั้งงิ้วกลางแปลง และโรงงิ้วเยาวราช เพื่อไปเรียนรู้จดจำสิ่งต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของงิ้ว ส่วนเนื้อเรื่องก็ว่ากันไปตามแต่ละเหตุการณ์บ้านเมือง โดยคนเขียนบทก็คือ นายชวน หลีกภัย และหลายๆ คนช่วยกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นประเด็นปัญหาตำตาตำใจประชาชน ประเด็นที่ผู้มีอำนาจขณะนั้นใช้สิทธิใช้อำนาจเกินขอบเขต "งิ้วธรรมศาสตร์" มีการแสดงหลายครั้ง หลายโอกาส ประชาชนต่างจดจ่อที่จะได้ชมงิ้วโรงนี้ มีครั้งหนึ่งได้ไปแสดงในงานฉลองประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตไทย ที่โรงแรมดุสิตธานี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรด้วย วันนั้นมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้แสดงนำ แต่ละครั้งคนชมจะแน่น แม้ว่าจะเป็นรายการที่กำหนดไว้ลำดับสุดท้ายของงานก็ตาม เนื้อหาที่แสดงก็ยังคงเป็นเรื่องล้อเลียนการเมืองอยู่โดยตลอด จะมีการประกาศกันเสมอๆ ว่า "สันติบาลไม่เกี่ยว" "งิ้วธรรมศาสตร์" รู้กันดีว่าเป็นงิ้วล้อการเมืองจากที่เคยแสดงกันในคณะนิติศาสตร์ใน มหาวิทยาลัย ขยับไปแสดงข้างนอก และช่วงหลังได้ออกโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นงิ้วที่ประชาชนให้ความชื่นชอบกันมาก จาก "งิ้วมหาวิทยาลัย" ได้ขยับเป็น "งิ้วทีวี" เริ่มออกอากาศครั้งแรกที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม จากนั้นเพิ่มช่องออกอากาศขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะประชาชนเรียกร้อง ต่อมาสถานีโทรทัศน์อื่นๆ ก็ผวางิ้วธรรมศาสตร์ด้วยเกรงกลัวในเนื้อหาที่ดุเดือด รุนแรง แสดงการเมืองกันจริงๆ และสุดท้ายงิ้วการเมืองที่แสดงในงานวันธรรมศาสตร์ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 ถูกสั่งเลิกแบบฉุกเฉิน ทั้งที่เล่นเพียงฉากเดียว คือเรื่อง "สามก๊ก" ตอน "โจโฉแตกทัพเรือ" เขียนบทโดยชวน หลีกภัย และแสดงโดยชวน หลีกภัย,พีระพงศ์ อิศรภักดี,หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์,วีระ มุสิกพงศ์,ทิพชนก รัตโนสถ,สัญชยากร เศียนเสวี,ทิพยสันฑ์ ศุภพงษ์,ประพันธ์ แถวถิ่นทอง,สมบัติ อุ่นสมบัติ และประจิต ชัยเกียรติ บรรยากาศทางการเมืองในช่วงนั้น เป็นยุคแรกของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ผู้แสดงล้อเลียนพลเอก เปรม คือ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี แสดงเป็นแม่ทัพโจโฉ มีฉากและเพลงประกอบซึ่งเป็นเพลงที่พลเอก เปรมชื่นชอบ มีการแสดงบุคลิกให้เหมือน เมื่อการแสดงฉากแรกจบและกำลังจะขึ้นแสดงฉากที่สองแค่ไตเติ้ลเพลงจากยอดดอย เพียงเท่านั้นก็ถูกสั่งให้ยุติ และหลังจากนั้นไม่มีใครกล้ารับงิ้วธรรมศาสตร์ไปแสดงอีกเลย ต่อมายุคหลังสถานีโทรทัศน์ให้มีการอัดเทปกันล่วงหน้าเพื่อง่ายแก่การตรวจสอบ ผู้แสดงงิ้วหลายคนก็ไม่พึงประสงค์ที่จะแสดงแล้ว โดยเฉพาะนายชวน ได้ต่อต้านเรื่องนี้มาโดยตลอด ดังนั้น ตลอดช่วงระยะที่ผ่านมาต้องถือว่า "งิ้วธรรมศาสตร์" ได้ธำรงไว้ซึ่งชื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองตามเจตนารมณ์ดั้ง เดิม งิ้วธรรมศาสตร์ได้แสดงออกถึงความต้องการ แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อการเมือง ได้ทำหน้าที่แทนประชาชนในการปกป้องผลประโยชน์ด้านสิทธิเสรีภาพ โดยใช้สื่อการแสดงมาโดยตลอด กระทั่งปัจจุบันมาถึงสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้นำประเทศ ชุมนุมศิลปะการแสดง "งิ้วการเมือง" ก็ได้ออกมาร่วมเคลื่อนไหวขับไล่นายกรัฐมนตรีผ่านการแสดงดังกล่าว
ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลมติชน
--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://www.cedthai.com/
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น